Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

โรคติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) หรือ Human Papillomavirus คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคติดเชื้อเอชพีวี ( HPV )

เชื้อ HPV คืออีกหนึ่งเชื้อร้ายที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสามารถสร้างความสูญเสียให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกมากมาย หากมองจากภายนอกแล้วเชื้อ HPV สังเกตได้ยากและไม่มีอาการแสดงออกของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้ตัวอีกทีก็อยู่ในช่วงเวลาที่อันตรายเกินไป และยากต่อการรักษา

โรค HPV คืออะไร

โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( human papilloma virus ) หรือ โรค HPV คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธ์ได้ พบบ่อยในเพศหญิง จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถติดต่อได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางปากช่องคลอด ทวารหนัก หรือ การสัมผัสเชื้อโดยตรง

มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ย่อย ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการติดเชื้อที่เยื่อบุผิว อีกทั้งเชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก (สายพันธุ์ 16 และ 18) มะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นจำนวนมาก และยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในที่สุด

ความแตกต่างระหว่าง HPV และ HIV

หลายคนสงสัยและมักเข้าเข้าใจผิดว่าทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคเดียวกัน เนื่องจากมีชื่อที่คล้ายๆ กัน แต่ทั้งโรคติดเชื้อ HPV และ HIV เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD ( Sexually Transmitted Disease ) หมายถึงโรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละสายพันธ์

  • HPV คือ โรคเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human papilloma virus
  • HIV คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หากผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และ HPV จะยิ่งส่งผลให้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตัวเอย่างเช่น ผู้ชายที่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับเพศชายอาจทำให้เกิดมะเร็งทวารหนัก หรือหากมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงนอกจากติดเชื้อ HIV  แล้ว ยังเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย

สามารถอ่านเรื่องของ HIV เพิ่มเติมได้ที่นี่ : โรค HIV คืออะไร รวมทุกข้อมูลที่ถูกต้อง ที่คุณต้องรู้ !

อาการ HPV

ดังที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าผู้ติดเชื้อ HPV โดยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการเมื่อติด เชื้อ HPV การแสดงอาการของโรคอาจเกิดขึ้นหลายปีหลังจากติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ สำหรับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัส HPV ที่ตรวจพบจะมีดังนี้

1. มีหูดหงอนไก่ ( Condyloma Accuminate )
เป็นตุ่มเล็กๆ ผิวไม่เรียบหลายๆ ตุ่มกระจายตามอวัยวะเพศภายนอก มีอาการคันได้ สามารถพบได้ทั้งปากช่องคลอด ปากมดลูกลักษณะของหูด หูดชนิดทั่วไป จะมีรูปร่างเป็นตุ่มเล็กๆ เจ็บปวดบ้างในบางครั้ง และหากสัมผัสจะรูสึกผิวของหูดนั้นมีความขรุขระ มีได้หลายสี พบได้ที่บริเวณตามมือ นิ้วมือ หรือข้อศอก ซึ่งหูดลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายนอกจากนี้ยังมีหูดชนิดอื่นๆ เช่น หูดชนิดแบนราบเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย หูดฝ่าเท้า มักขึ้นบริเวณส้นเท้า ให้รู้สึกเจ็บในระหว่างยืนหรือเดิน แต่หูดที่สร้างความทุกข์ใจกับผู้ป่วยมาที่สุดคือ หูดที่อวัยวะเพศ หรือเรียกว่า หูดหงอนไก่เป็นติ่งเนื้อลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศชาย และทวารหนัก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกคัน

2. มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ
อาจมีเลือดปนตกขาว ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดออกกระปริดกระปรอยจากช่องคลอด หากติดเชื้อที่ทวารหนัก ก็จะมีแผลหรือก้อนยื่นออกมาผิดปกติอาการติดเชื้อในระยะแรกทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นๆ หายๆ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ผู้หญิงบางรายได้รับเชื้อ HPV เข้าสู่ร่างกายแต่ไม่แสดงอาการและเชื้อก็จะหายไปเอง หรือหากร่างกายอ่อนแอก็อาจก่อให้เกิดความผิดปกติภายหลัง

ความน่ากลัวของ เชื้อ HPV คือการไม่แสดงอาการมานาน แต่พอเริ่มมีอาการปรากฏ นั้นหมายถึงเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ดังนั้นจึงควรหาเชื้อ HPV หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

วิธีรักษาโรค HPV

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัส HPV ให้หายขาด เราเพียงแต่พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค การติดเชื้อจะหายไปได้เองโดยใช้เวลาประมาณ 2 ปี  แต่สำหรับคนที่ติดเชื้อแล้วร่างกายอ่อนแอ เชื้อ HPV จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งใช้เวลานานพอสมควร ประมาณ 10- 15 ปี มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่เชื้อฝังแน่นในร่างกายเป็นเวลานาน

การรักษา HPV ที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน คือ การตรวจวินิจฉัยยืนยันเพื่อหาเชื้อ HPV และแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 และไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคก็อาจไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อนี้ แต่ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 และมีความเสี่ยงแนะนำว่าควรจะต้องเข้ารับการตรวจประจำปี

ส่วนเพศชายก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะชายรักร่วมเพศ อาจจะเกิดการติดเชื้อและแสดงอาการที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือ องคชาติ จนกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันโรค HPV

การป้องกันโรค HPV ที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คือ การรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธ์โดยเฉพาะเพศชายควรจะทำความสะอาดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อได้ ส่วนเพศหญิงที่ติดเชื้อก็ควรรักษาให้หายก่อนมีเพศสัมพันธ์ หรือ หากไม่มั่นใจให้สวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ทั้งคู่จะเป็นการดีที่สุด

โรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( human papilloma virus) หรือ โรค HPV นั้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ แต่ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บป่วยหลังติดเชื้อ และทำให้สุขภาพและร่างกายอ่อนแอได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน รวมถึงผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มากกว่า 3 ครั้ง และปัจจุบันการป้องกันที่สามารถทำได้ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและสูญเสีย คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค HPV

การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ยังไม่มีการติดเชื้อ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือก่อนแต่งงาน วัคซีนสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยวัคซีนจะเริ่มป้องกันการติดเชื้อหลังฉีด 1 เดือนเป็นต้นไป การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบ 3 เข็ม ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO ) ให้ข้อมูลว่า ควรจะฉีดวัคซีนนี้ ในอายุช่วง 9-14 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่ต่อไป

การวินิจฉัยโรค HPV

เนื่องจากเชื้อ HPV ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การตรวจวินิจฉัยจึงจำเป็นต้องเป็นการตรวจในห้องปฏิบัติการ เช่น

  1. การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap Test)  สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจคนหาเชื้อ
  2. การตรวจตินเพร็พ ( ThinPrep Pap Test ) วิธีการตรวจไม่ต่างไปจากการตรวจแปปสเมียร์โดย แพทย์จะเก็บเซลล์ บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ แล้วส่งเข้าห้องปฎิบัติการ
  3. การตรวจคัดกรองหาดีเอ็นเอของเชื้อ HPV ( HPV DNA Test ) วิธีการนี้เป็นคือการนำตัวอย่างเซลล์บริเวณอวัยวะเพศไปตรวจหาเชื้อHPVโดยตรง มีความแม่นยำสูง นิยมตรวจเพื่อค้นหาโรคก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  4. การตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป ( Colposcopy )  เป็นการสอดกล้องคอลโปสโคป ที่มีขนาดเล็ก เข้าไปทางช่องคลอดเพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ
  5. การทดสอบด้วยกรดอะซิติก ( Acetic Acid Solution Test )  การตรวจวิธีนี้จะเป็นใช้สารละลายกรดอะซิติก เพื่อทำปฏิกิริยากับเซลล์ปากมดลูก ที่มีผิดปกติและเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวให้เป็นสีขาว แพทย์จึงสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเชื้อ HPV

สาเหตุการเกิด โรค HPV

การติดเชื้อ HPV นั้นเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากถึงร้อยละ 70 และเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม

เนื่องจากโรคติดเชื้อ HPV เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นต้นเหตุหลักๆ ของการติดเชื้อไวรัส HPV ก็มาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยตรง หรือแม้แต่การสัมผัสทางผิวหนัง แล้วเชื้อเข้าสู่ร่างกาย

โดยการติดเชื้อนั้น เชื้อสามารถอยู่ในร่างกายนานถึง 12 เดือน ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในช่องคลอดหรือปากมดลูกผู้หญิง หากร่างกายมีภูมิต้านทานมากพอเชื้อจะหายไปเองภายใน 2 ปี แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอเชื้อก็จะสามารถกระตุ้นให้เซลล์เปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้

รวมถึง เชื้อ HPV ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง โดยที่ฝ่ายชายมักจะเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่ผู้หญิง โดยที่ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อสู่ทารกระหว่างการคลอดได้ แต่เกิดได้น้อยมาก

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV  คือ ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ทั้งเพศชายและหญิง เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 16 ปี มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ รวมถึงผู้ป่วย เอชไอวี ( HIV ) อยู่เดิมก่อน

การติดต่อเชื้อไวรัส HPV

การติดเชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งเพศหญิงและเพศชายหากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กแรกเกิดก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นกันในขณะที่คลอดผ่านช่องคลอด โดยที่มีผู้เป็นแม่มีเชื้อนี้อยู่ จากข้อมูลพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัส HPV กว่า 95% สามารถกำจัดเชื้อ HPV ได้เอง จากภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น มีส่วนน้อยที่หลงเหลือและแอบแฝง ซึ่งนั้นหมายถึงความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

เมื่อติดเชื้อ HPV ควรทำอย่างไร

หากสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง เช่น มีตุ่ม เกิดในบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจในแน่ชัด พร้อมวางแผนการรักษา ซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อ HPV ได้โดยเฉพาะเจาะจง  ดังนั้นแพทย์จะทำการรักษาหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยขึ้น

การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HPV

เมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อ HPV สิ่งสำคัญคืออย่าละเลยการรักษา และควรทำใจให้สบาย เพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานที่ถูกสุขลักษณะ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกๆ 6-12 เดือน ตามแพทย์นัด เพื่อเฝ้าระวังเชื้อ HPV ลุกลามเกินดูแล

อาการแทรกซ้อนของเชื้อไวรัส HPV

นอกจากการติดเชื้อ HPV จะทำให้เกิดหูด ตุ่มแข็งคล้ายหงอนไก่ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศที่สามารถรักษาได้โดยการจี้ทำลาย เชื้อ HPV ยังสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และทวารหนักได้ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชาย สามารถก่อให้เกิดมะเร็งที่องคชาติ และทวารหนักได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV หรือการแพร่จ่าย เชื้อ HPV สามารถทำได้เพื่อสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ และถือเป็นการป้องกันที่คุ้มค่า ซึ่งทำได้ด้วยการไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ถึงแม้จะไม่สมารถป้องกันการเกิดโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดโอกาสให้เกิดน้อยลงได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่เสมอ

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า