ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับ ยาต้านไวรัส HIV ประเภทต่าง ๆ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเชื้อก่อน เนื่องจากหลาย ๆ คนมักมีความเชื่อฝังใจว่า เมื่อมีเชื้อ HIV คือเป็นเอดส์ แท้จริงแล้ว HIV กับ AIDS ต่างกันอย่างไร มาศึกษาเรื่องนี้ด้วยกันครับ
HIV (Human immunodeficiency virus) เป็นไวรัสในกลุ่ม เรโทรไวรัส (retrovirus) เป็นสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งจะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือที่คนไทยพูดติดปากกันว่า “โรคเอดส์” (AIDs acquired immune deficiency syndrome) เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม
ซึ่งเชื้อ HIV สามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระ และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคเลือด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อ HIV :
AIDs (AIDs acquired immune deficiency syndrome) เป็นระยะสุดท้ายของ HIV infection เป็นระยะภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคต่าง ๆ มากมายหรือที่เรียกว่า เชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเอดส์ : ข้อมูล โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา การป้องกัน
ยาต้านไวรัสคือยาที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV มีการใช้ใน 2 ลักษณะ ทั้งในช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)
ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี
Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
ประเภทของยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้น ถูกแบ่งได้ตามกลไกการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยาในกลุ่มนี้สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้
Pre-exposure prophylaxis (PrEP) การตรวจเลือดก่อนรับยาต้องใช้ผลตรวจดังต่อไปนี้ Anti-HIV ไวรัสตับอักเสบบี และการทำงานของไต หากเป็นครั้งแรกที่คนไข้มารับยา PrEP แพทย์จะจ่ายาให้ไปใช้สำหรับ 1 เดือนก่อน และจะนัดมาตรวจ Anti-HIV
อย่างไรก็ตามหากเป็นไปได้ถึงแม้ว่าจะใช้ยา PrEP แล้วก็ตามการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยก็จะเป็นการ double protection ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน HIV รวมถึงโรคอื่นๆได้ด้วย และยา PrEP สามารถทานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายและผลข้างเคียงในระยะยาว แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
โดยผู้ที่ทานยา PrEP อย่างต่อเนื่องควรมีการนัดตรวจติดตามผลเลือดกับแพทย์ทุกๆ 3 เดือน
Post exposure prophylaxis (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน หรือยาต้าน HIV ที่ทานหลังจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมา โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) ขึ้นกับแพทย์จะพิจารณา ยากลุ่มนี้จะมีเงื่อนไขที่มากกว่าและรัดกุมกว่าการรับยา PrEP โดยยา PEP ต้องรับภายใน 72 ชม.
หลังจากได้รับความเสี่ยงเท่านั้น ถ้าเวลาเกินไปมากกว่า 72ชม. การใช้ยา PEP จะแทบไม่เกิดประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ผู้รับยาต้องมีการตรวจเลือดดังต่อไปนี้ก่อนการรับยา: Anti-HIV, ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส ค่าการทำงานของไต และค่าเอนไซม์ตับ โดยยา PEP จะต้องทานทั้งสิ้น 28 วัน
โดยหลังทานยาครบตามที่แพทย์กำหนดจะต้องมีการตรวจ Anti-HIV ซ้ำ การรับยา PEP สามารถรับได้มากกว่า 1 ครั้งและสามารถรับซ้ำได้ในทุก ๆ ครั้งที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น การใช้ยา PEP ไม่ได้ทำให้เกิดการดื้อยาแต่อย่างใด
ใครบ้างที่ควรได้รับยาต้านไวรัส HIV ทาง Safe Clinic จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีหลัก ๆ คือการรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น มีชื่อว่า PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)หรือ ยาต้านก่อนเสี่ยง และการรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่า PEP (Post -Exposure Prophylaxis) หรือยาต้านฉุกเฉิน
การรับยาต้าน ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา
ราคาของยาแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกันจากฐานการผลิตและผลข้างเคียงของยา กลุ่มยาที่ราคาต่ำมักมีผลข้างเคียงมากกว่ายาที่ราคาสูง
รายการ | ราคา |
PEP (30 tablets) | 2,500 – 18,200 |
PreP (30 tablets) | 1,000 – 3,200 |
PEP lab test | 3,000 |
PreP lab test | 2,000 |
ราคายาต้านไวรัส HIV ทั้ง 2 รูปแบบคือ PrEP และ PEP มีหลายราคาขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวนบรรจุ ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000-3,500 บาท ทั้งนี้ก่อนรับยา จำเป็นต้องพบแพทย์ปรึกษาและทำการเจาะเลือด เพื่อเช็คผลเลือดหาเชื้อ HIV จึงจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ร่วมด้วยในครั้งแรก โดยสามารถดูราคาของยาที่ Bangkok Safe Clinic ได้ที่นี่ ราคายาต้านไวรัส HIV
การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด ซึ่งต้องใช้ตัวยาด้วยกัน 3 ชนิด เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา อัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก
ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็ช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ปัจจุบัน ยาต้านไวรัส HIV ทั้ง 2 ประเภทคือ PrEP (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และ PEP (ยาต้านฉุกเฉิน) มีการพัฒนาสูตรการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความปลอดภัยสูง
แต่อาจพบอาการข้างเคียงของยาต้านไวรัส บ้างในบางรายเช่น รู้สึก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ แต่อาการเหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากที่เริ่มรับประทาน โดยจากสถิติแล้ว ผลข้างเคียงมีได้ดังนี้
และหากรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไปแพทย์แนะนำให้ตรวจค่าการทำงานของตับและการทำงานของไตเนื่องจากยาต้านไวรัสส่งผลต่อการทำงานของตับและไต
สำหรับการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV นั้น มีการใช้ใน 2 ลักษณะ นั่นคือ การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (PrEP หรือยาต้านก่อนเสี่ยง) และการใช้ยาเพื่อป้องกันหลังสัมผัสโรค (PEP หรือยาต้านฉุกเฉิน) ซึ่งมีระยะเวลาในการใช้ยาแตกต่างกันดังนี้
การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว ทานยา PrEP อย่างไร: มี 2 ทางหลัก ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน
การใช้ยาเพื่อป้องกันหลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis; PEP) หรือที่เรียกว่ายาต้านฉุกเฉิน เป็นยาฉุกเฉินในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ที่จำเป็นต้องรับประทานทันที หรือให้เร็วที่สุดหลังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง ยิ่งเร็วยิ่งดี ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงยิ่งขึ้น
โดยจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัส ก่อนที่เชื้อ HIV จะแพร่ในร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อได้กว่า 80% เลยทีเดียว ต้องรับประทานติดต่อกันนาน 28 วันให้ตรงเวลาเดิมทุกวัน และต้องมีการตรวจเลือดเพื่อดูผลการป้องกันหลังจากครบ 28 วันแล้วด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อรับประทานยาครบตามจำนวนที่กำหนดและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลงสามารถหยุดยาได้ตามที่แพทย์แนะนำ แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ตนเองมีความเสี่ยงอีกในอนาคต
On PrEP แล้วสดได้ไหม ถึงแม้ ยา PrEP (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และ PEP (ยาต้านหลังเสี่ยง) จะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ได้จริงแต่ก็ไม่ถึง 100% และตัวยาต้านทั้งสองเองก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูดหงอนไก่ ฯลฯ
ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่เราไม่ทราบ HIV status ของคนคนนั้น ควรมีการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV กับการทานยาต้านให้ตรงเวลานั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยรักษาระดับยาจะให้คงที่ในกระแสเลือด ช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสไม่เพิ่มจำนวน ลดผลข้างเคียงและโอกาสการดื้อยาในอนาคต ดังนั้นหากทานยาต้านไม่ตรงเวลา หรือขาดยา ก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล
เชื้อไวรัส HIV ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเปลี่ยนยาไปใช้ในสูตรที่แรงการสูตรเดิมรวมทั้งผลข้างเคียงที่มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือ ติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
โดยปกติแล้ว สามารถทานยาต้านไวรัส HIV ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ปกติ แต่มียาต้านไวรัสบางกลุ่มที่ห้ามรับประทานพร้อมกับยากลุ่มอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงอย่านิ่งนอนใจ รีบพบแพทย์ตรวจเลือด และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ต้องกลัว เขิน อาย หรือกังวล เพราะ HIV สามารถป้องกันได้ และหากพบว่ามีการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ การเริ่มการรักษาได้เร็วจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวได้เท่ากับคนปกติ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับยาต้านไวรัส HIV