อาการที่พบของการติดเชื้อไมโคพลาสมา เจนนิทัลเลียม (Mycoplasma Genitalium) ที่พบบ่อยได้แก่
- อาการปวดแสบร้อนตอนปัสสาวะ
- อาการคันหรือระคายเคืองที่ท่อปัสสาวะ เป็นมากเวลาที่ปัสสาวะหรือ หลังปัสสาวะแล้ว
- ผู้หญิงอาจมีอาการตกข่าวร่วมด้วย หรือมีเลือดออก หรือมีของเหลวผิดปกติไหลออกมาจากช่องคลอด
- หากมีการอักเสบมากกว่าปกติอาจมีอาการเลือดออกจากช่องคลอดได้
- ผู้หญิงมีอาการปวดท้องน้อย คล้ายปวดประจำเดือน หรือ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายมีอาการลูกอัณฑะอักเสบ หรือ มีอาการปวดบวมที่ถุงอัณฑะได้
- ผู้ชานมีของเหลวไหลออกมาจากองคชาติ
- ผู้ที่ติดเชื้อทางทวารหนักจะมีอาการเจ็บเวลาถ่ายอุจจาระ
การรักษา
หลังจากที่แพทย์ทำการตรวจร่างกายและซักประวัติแล้ว แพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจ การตรวจหาเชื้อไมโคพลาสมา เจนนิทัลเลียม (Mycoplasma Genitalium) นั้นจะทำการตรวจในบริเวณที่คิดว่าติดเชื้อ เช่น หากมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก็จะเก็บปัสสาวะไปตรวจ หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อที่ช่องคลอดก็จะเก็บตัวอย่างจากช่องคลอด หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อทางทวารหนักโดยเฉพาะผู้ชายรักร่วมเพศก็จะเก็บตัวอย่างจากทวารหนักไปตรวจ หรือ แม้แต่สงสัยว่ามีการติดเชื้อที่ตา ก็จะเก็บตัวอย่างจากตา เป็นต้น
เมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจ สามารถตรวจพบเชื้อได้เมื่อผู้ป่วยสัมผัสโรคอย่างเร็วที่สุด คือ 1 สัปดาห์หลังสัมผัสโรค และเมื่อมั่นใจว่า ผู้ป่วยติดเชื้อไมโคพลาสมา เจนนิทัลเลียม (Mycoplasma Genitalium) แล้วก็จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องจนมั่นใจว่าทำลายเชื้อได้หมด และระหว่างการรักษาก็ห้ามมีเพศสัมพันธ์ หรือ การสัมผัสเยื่อเมือกหรือเยื่อบุที่มีเชื้อเด็ดขาด
หลังรักษาสามารถตรวจซ้ำ เมื่อประเมินการติดเชื้อได้ประมาณ 3- 4 สัปดาห์หลังการรักษา ส่วนท่านที่มีคู่นอน หรือ มีสามีภรรยา ถ้าไม่มั่นใจว่ารับเชื้อด้วยหรือไม่ควรจะมาตรวจด้วยกันทั้งคู่ และรีบทำการรักษาหากตรวจพบเชื้อต่อไป
การป้องกัน
โดยสรุปแล้ว เชื้อไมโคพลาสมา เจนนิทัลเลียม เป็นแบคทีเรียขนาดเล็ก ที่ทำให้ท่อปัสสาวะ ปากมดลุก ทวารหนัก รวมถึงอวัยวะต่างๆ ติดเชื้อได้ โรคสามารถติดต่อและถ่ายทอดทางการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทางช่องคลอดหรือ ร่วมทางทวารหนักการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือ มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนของตัวเอง และสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคไม่ควรร่วมเพศหรือมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังรักษาไม่หาย หรือหากไม่มั่นใจว่าหายดีแล้ว ต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง จนกว่าผลการตรวจหาเชื้อซ้ำจะเป็นลบ และต้องตรวจซ้ำหลัง 1 เดือนเพื่อความมั่นใจ