Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

โรคติดเชื้อยูเรียพลาสมา คืออะไร

โรคติดเชื้อยูเรียพลาสมา เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มไมโคพลาสมาซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อาศัยอยู่อิสระในคน สัตว์ รวมไปถึงพืช  โดยปกติแบคทีเรียขนาดเล็กเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์อยู่แล้ว แต่จะมีแบคทีเรียบางชนิดเมื่อร่างกายอ่อนแอก็จะก่อให้เกิดโรคได้
และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้บ่อยและง่ายที่สุดอีกชนิด คือ ยูเรียพลาสมา Ureaplasma) ซึ่งพบในระบบสืบพันธุ์ผู้หญิง ในช่องคลอดและปากมดลูก โดยไม่ทำอันตรายต่อคน แต่เมื่อไหร่ที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เชื้อเหล่านี้ก็จะก่อให้เกิดโรคต่อมา

สาเหตุ
เชื้อยูเรียพลาสมามีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบบ่อย คือ สายพันธุ์ Ureaplasma Urealiticum และ Ureaplasma Parvum  ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก ไม่มีผนังเซลล์ ทำให้การใช้ยาปฏิชีวินะเพื่อทำลายเชื้อเหล่านี้ทำได้ยาก การแพร่เชื้อเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และสามารถแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้ หรือ การที่ลูกคลอดออกมาแล้วสัมผัสเชื้อที่ปากช่องคลอดจากแม่

อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของโรคติดเชื้อยูเรียพลาสมาจะเริ่มตรวจพบหลังติดเชื้อได้ประมาณ 1 -3  สัปดาห์ โดยอาการที่พบในผู้หญิงและผู้ชายจะต่างกันเล็กน้อย ได้แก่

  1. ผู้ชาย จะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ หรือมีอาการปวดแสบร้อนเวลาที่ปัสสาวะ จากนั้นอาจจะมีสารคัดหลั่งผิดปกติไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ รวมถึงหนองไหลออกมา  นอกจากนี้อาจจะมีอาการปวดหน่วงที่อวัยวะเพศ หรือ ปวดบวมที่อัณทะและอัณฑะอักเสบได้
  2. ผู้หญิง จะเริ่มมีอาการปัสสาวะแสบขัด ตกขาว และเมื่อเชื้อลุกลามเข้าไปในระบบสืบพันธุ์ก็จะมีอาการผิดปกติอื่นๆ ได้เช่น ปวดท้องน้อย มีไข้ ปวดท้องเมื่อมีเพศสัมพันธุ์ เป็นต้น

การรักษา
การรักษาโรคติดเชื้อยูเรียพลาสมา (Ureaplasma Urealiticum) ก่อนรักษาแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อยืนยันเช่นกันกับการติดเชื้อไมโคพลาสมากลุ่มอื่นๆ  สิ่งส่งตรวจก็คือ ตัวอย่างน้ำหนอง หรือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ หรือ ช่องคลอด เมื่อนำมาส่งสิ่งตรวจหรือเซลล์ตัวอย่างมาส่งกล้องก็จะตรวจพบเชื้อแล้วรีบทำการรักษาต่อไป

ยาปฏิชีวนะที่ใช้การรักษา เชื้อ ยูเรียพลาสมา (Ureaplasma Urealiticum) นั้นจะเป็นกลุ่มยารักษาแบคทีเรียแกรมบวก โดยการรักษาจะต้องให้ยาทันที เมื่อตรวจพบ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่

  • ยากลุ่มดอกซีไซคลิน (Doxycycline) กินครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน
  • เตตราไซคลีน (Tetracycline) กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน (หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มเตตราไซคลีน)
  • อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน
  • ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) กินครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน
  • อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ขนาด 1 กรัม หรือ 1,000 มิลลิกรัม ใช้กินเพียงครั้งเดียว (เป็นยากลุ่มเดียวกันกับอิริโทรมัยซิน และเป็นยาที่แพทย์นิยมใช้)
  • ไมโนมัยซิน (Minomycin) กินครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน


การป้องกัน

การป้องกันโรคกลุ่มนี้ อย่างที่ทราบว่า เชื้อนี้เป็นเชื้อฉวยโอกาสก่อโรคเมื่อร่างกายอ่อนแอ  การป้องกันคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรก หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายดี เพราะหากรักษายังไม่หาย หรือรักษาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำ และมีโอกาสแพร่เชื้อซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่วนเพศหญิงที่มีการติดเชื้อเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยากต่อไป

icon email