โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในยุคปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากบางคนมองเรื่องของการเปลี่ยนคู่นอนเป็นเรื่องสนุก จึงทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี ได้ง่ายๆ แต่ถึงแม้ปัจจุบันจะมี PrEP หรือ ยาต้านเชื้อ HIV ที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ทั้งก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ อย่างที่เราเรียกว่า ยา PrEP แต่การป้องกันและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม
เลือกหัวข้ออ่านเกี่ยวกับ PrEP
ยา PrEP ย่อมาจาก Pre-exposure prophylaxis คือ สูตรยาต้านไวรัสที่ให้กับผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ HIV แต่มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ HIV เช่น มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีการใช้สารเสพติดชนิดฉีดโดยการใช้ยา PrEP นั้นมีการศึกษาแล้วว่าสามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้จริง หากมีการรับประทานอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่ง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาพบว่าการใช้ ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 % ส่วนในกรณีของผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้ถึง 70%
อย่างไรก็ตามการใช้ยา PrEP ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ถึง 100 % และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคอื่นๆ ได้
ดังนั้นถึงแม้ว่าจะกินยา PrEP แล้วก็ควรต้องใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เสมอ
PrEP ใช้ได้กับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV เช่นผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีปาร์ตี้เป็นประจำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทราบว่าคู่นอนของตนมีเชื้อ HIV อยู่แล้ว ส่วนในผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร แต่ยังมีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV ก็สามารถใช้ยา PrEP ได้ อย่างปลอดภัยภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์
ประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ HIV ในปีพ.ศ. 2561 ที่ยังมีชีวิตอยู่ 77,034 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 2,086 คน ซึ่งในความเป็นจริงยังมีผู้ติดเชื้อ HIV อีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ ในเมื่อเพศสัมพันธ์คือเรื่องปกติของมนุษย์เราทุกคน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทุกคนก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV นั่นเอง
ส่วนจะมากหรือจะน้อย นั้นก็ขึ้นกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ดังนั้นสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV สูง การใช้ยา PrEP สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อ HIV ได้อย่างมีนัยสำคัญหากมีใช้ยาอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่ง
PrEP กับ PEP เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เหมือนกัน
อ่านเพิ่มเติม : PEP ยาต้านไวรัส hiv แบบฉุกเฉิน คืออะไร แตกต่างกับ PrEP อย่างไร
เข้าใจง่ายๆ คือ PrEP ป้องกันก่อนเสี่ยง ส่วน PEP เสี่ยงแบบฉุกเฉิน
การรับยา PrEP ต้องได้รับผ่านสถานพยาบาลเท่านั้น ก่อนรับยา PrEP จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อเช็คสุขภาพโดยรวม รวมทั้งตรวจเช็คผล HIV ของผู้ที่จะรับยาด้วย เนื่องจากยา PrEP จะใช้กับผู้ที่มีผล HIV เป็นลบเท่านั้น โดยสถานพยาบาลจะจ่ายยา PrEP ให้ไปทานไม่เกิน 3 เดือน หากจะรับยาเพิ่มต้องมีการกลับมาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ใหม่ทุกครั้งก่อนรับยา
รายการ | ราคา PrEP |
PrEP (30 tablets) | 1,000 – 3,400 บาท |
PrEP lab test | 2,000 บาท |
PrEP ไม่ใช่วัคซีน วัคซีนคือสารที่กระตุ้นร่างกายให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นๆได้เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง เป็นเพียงยาต้านเชื้อ HIV เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
ต้องรับประทาน ยา PrEP อย่างต่อเนื่อง คล้ายกับการกินยาคุม เมื่อมีการกินอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 วันยาจะสามารถป้องกันเชื้อ HIV ไม่ให้เข้าไปเกาะกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของเราได้
ยา PrEP มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงโดยปกติที่พบบ่อยช่วงแรกของการกินยาคืออาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลียบ้าง แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นหลังกินยาไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์
การกิน PrEP ที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นควรต้องกินต่อเนื่องอย่างน้อง 7 วันก่อนที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV และกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันและเมื่อจะหยุดกินยาให้หยุดกินหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 4 สัปดาห์
ไม่จำเป็นต้องกินตลอดชีวิต สามารถหยุดกินได้ โดยสามารถหยุดกินยาหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 4 สัปดาห์ แล้วสามารถกลับมากินใหม่ได้หากต้องการ
ถึงแม้ ยา PrEP จะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ได้จริงแต่ก็ไม่ถึง 100% และยา PrEP เองก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคชนิดอื่นๆได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่เราไม่ทราบ HIV status ของคนคนนั้น ควรมีการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ
หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ สามารถกินยา PrEP ได้ และไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ สามารถมีบุตรได้ตามปกติ
ในกรณีที่ลืมรับประทานกินยา หรือรับประทานยาไม่ตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง สามารถ รัประทานห่างกันได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง หากลืมเมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่หากลืมเกิน 7 วัน ให้เริ่มนับ 1 ใหม่
ยา PrEP มีความสามารถในการเป็นยาต้านเชื้อ HIV ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ 100 % สิ่งสำคัญที่สุดในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV คือ การป้องกัน และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรให้ความสำคัญกับการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ร่วมกับการใช้ยาป้องกัน HIV หรือ PrEP
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง