Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ตุ่ม PPE คืออะไร มีลักษณะอย่างไร เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไรบ้าง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์​นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายโรค และแต่ละโรคนั้นแสดงอาการของโรคแตกต่างกัน และในวันนี้เราจะมาแนะนำหนึ่งในอาการที่หลายคนซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ต้องพบเจอ นั่นคือ ตุ่ม PPE หรือ Pruritic Papular Eruption in HIV ว่าแต่ตุ่ม PPE คืออะไร อันตรายหรือไม่ มีลักษณะอย่างไร จะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไรบ้าง ตามมาดูคำตอบในบทความนี้พร้อมๆ กันได้เลย

ตุ่ม PPE คืออะไร

Pruritic Papular Eruption in HIV หรือ ตุ่ม ppe คือ อาการทางผิวหนังที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) มักพบได้ตามใบหน้า แขน หรือขาของผู้ติดเชื้อ ทำให้หลายคนเรียกว่าตุ่มเอดส์ ส่วนใหญ่จะพบในคนที่มีอาการมากแล้ว เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะที่ 2, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 เป็นต้น ซึ่งลักษณะของตุ่ม PPE อาจทำให้หลายคนสับสนได้ว่าเป็นหรือไม่ เพราะมีอาการคันคล้ายกับมีการอักเสบของผิวหนัง การแพ้ยาบางชนิด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจเพื่อดูว่าเป็นตุ่ม PPE ที่เกิดจากเชื้อ HIV จริงๆ หรือไม่

ลักษณะของตุ่ม PPE

ลักษณะของตุ่ม PPE (Pruritic Popular Eruption) จะเป็นตุ่มคัน ลักษณะนูนแดงหรือมีสีเนื้อ คล้ายกับตุ่มแมลงหรือยุงกัดมีระยะที่ห่างเท่าๆ กัน และจะขยายขนาดกว้างออกมากกว่า 5 มิลลิเมตร พบได้ทั่วทั้งร่างกายทั้งในและนอกร่มผ้า แต่จะพบบริเวณนอกร่มผ้ามากกว่า เช่น ตามใบหน้า ข้างแก้ม แขน ขา คอ ศีรษะ ไรผม คิ้ว ฯลฯ ร่วมกับมีรังแคมาก  และมีต่อมไขมันอักเสบ เป็นผื่นสะเก็ดหนา อาจมีหนองได้จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนจากการเกา และเมื่อตุ่มเริ่มหายจากตุ่มนูนแดงจะกลายเป็นสีคล้ำขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นตุ่ม PPE จะมีอาการเป็นค่อนข้างมากและมีอาการที่เรื้อรัง เนื่องจากจะพบตุ่ม PPE ในระยะของผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ โดย CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีการติดเชื้ออื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก เช่น เริม หูด งูสวัด ฯลฯ และมีการติดเชื้อราในช่องปาก ผิวหนัง ช่องคลอด มีฝ้าภายในช่องปากและเป็นขุยบริเวณลิ้น หรือลามไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนังได้เลยทีเดียว

ตุ่ม PPE อันตรายไหม

แม้เชื้อ HIV จะเป็นโรคติดต่อ แต่อาการตุ่ม PPE นั้นไม่ใช่โรคติดต่อแต่อย่างใด แต่ก็อย่านิ่งนอนใจหากต้องพบกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV และมีอาการ PPE ร่วมด้วยควรที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือหนองจากแผล เนื่องจากเชื้อ HIV สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกาย หรือเข้าสู่แผลผ่านทางผิวหนังได้ด้วย ทางที่ดีควรระมัดระวังในการสัมผัสหรือใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย HIV จะปลอดภัยที่สุด

สาเหตุการเกิดตุ่ม PPE

สาเหตุในการเกิดตุ่ม PPE ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดขึ้นจากการที่ผู้มีเชื้อ HIV มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อมักจะมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 75 cell/ml หรือ CD4 % ต่ำกว่า 5% ซึ่งแสดงอาการมากแล้ว ทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และเมื่อภูมิคุ้มกันพยายามที่จะต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาก็จะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เป็นตุ่มคันขึ้นมา และจะใช้ระยะเวลาในการยุบตัวนานมาก จำเป็นต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี

อาการของตุ่ม PPE

ตุ่ม PPE จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการค่อนข้างมาก และทำให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง สำหรับอาการของตุ่ม PPE จะทำให้รู้สึกคันมาก มีเลือดคั่ง และอาจมีเยื่อเมือกบนฝ่ามือและฝ่าเท้า นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดหนองจากการเกาได้ด้วย และตุ่มเอดส์จะกระจายตัวมากขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคมีน้อยกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร

ตุ่ม PPE ระยะแรก

ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ในระยะแรกเริ่มอาการจะคล้ายกับจะเป็นไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น เป็นต้น และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเริ่มบกพร่องมากขึ้นก็จะแสดงอาการออกมาทางผิวหนัง โดยจะทำให้เกิดผื่นขึ้นมาที่ผิว เกิดอาการติดเชื้อเริม งูสวัด มีการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ เข้ามาได้ง่าย และก็จะเกิดตุ่ม PPE ขึ้นมา โดยในระยะแรกจะเป็นตุ่มนูนแดง ไม่ใช่ลักษณะผื่น มีอาการคันมากๆ และเมื่อตุ่มยุบไปแล้วก็ยังทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ เนื่องจากหลายคนจะทำการเกาจนเป็นแผลเป็นรอยจุดดำๆ ตามลำตัว แขน ขา หน้า ซึ่งต้องใช้เวลารักษาเป็นปีๆ กว่ารอยแผลเหล่านั้นจะจางลงหรือหายไป

การวินิจฉัย การตรวจโรคตุ่ม PPE

หากมีอาการเหมือนกับการเป็นตุ่ม PPE แนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน HIV โดยเฉพาะ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจหาเชื้อ HIV และตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 เพื่อยืนยันว่าตุ่มที่ขึ้นเป็น PPE จริงหรือไม่

โดยการตรวจ HIV จะเป็นการนำสารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนม เป็นต้น ไปตรวจหาเชื้อ HIV ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการตรวจในปัจจุบันก็มีอยู่หลายวิธี เช่น

  • การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ HIV (HIV p24 Antigen Testing)
  • การตรวจหาด้วยการใช้ชุดตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อ HIV และตรวจแอนติเจนของเชื้อพร้อมกัน (HIV Ag/Ab Combination Assay)
  • การตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อ HIV (Anti-HIV Testing)
  • การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV (Nucleic Acid Amplification Testing: NAT)

ส่วนการตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 จะเป็นการประเมินว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังแข็งแรงหรือไม่ด้วยการใช้เลือดเป็นสิ่งส่งตรวจ ซึ่งในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดีจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวเท่ากับ 500 – 1,200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร แต่สำหรับใครที่มีอาการแสดงออกทางตุ่ม PPE นั่นอาจหมายความว่า CD4 ในระดับที่ต่ำมากๆ คือ น้อยกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร

วิธีการรักษาตุ่ม PPE

สำหรับวิธีการรักษาตุ่ม PPE จะมีทั้งการรักษาตามอาการ เช่น ห้ามแกะห้ามเกาตุ่ม PPE เพราะจะทำให้ยิ่งเป็นแผลเป็นและมีโอกาสเป็นหนองได้, ควรดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้ง, ทำการรับประทานยาแก้แพ้, ทายาแก้คัน เช่น ยาสเตียรอยด์ที่มีความเข้มข้นสูง (ไม่ควรใช้เกิน 2 สัปดาห์เพราะมีผลข้างเคียงทำให้ผิวบาง) ฯลฯ ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

ถ้าอยากรักษาแบบต้นเหตุ จะต้องเน้นการเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือ CD4 ให้มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการใช้ยาต้านไวรัส หรือ ARV ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งและต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี เพื่อเพิ่มให้ภูมิคุ้มกันให้เกิน 200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร และลดจำนวน HIV Viral Load ลง

ภาวะแทรกซ้อนของตุ่ม PPE

ภาวะแทรกซ้อนของตุ่ม PPE เช่น การเกิดหนองจากการเกาจนทำให้เกิดเป็นแผลเป็นและรอยดำตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งรักษาหายได้ยาก ต้องใช้ระยะเวลานาน ฯลฯ, มีโอกาสทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน, เกิดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อราชนิดต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

รักษาตุ่ม PPE ที่ไหนดี

ใครที่กังวลใจว่าควรที่จะรักษาตุ่ม PPE ที่ไหนดี แนะนำให้ไปที่สถานพยาบาลทั้งของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เพื่อขอเข้ารับการตรวจและรับคำปรึกษา และเริ่มต้นใช้ยาต้านไวรัสซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ รวมถึงมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยามากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น อย่ามัวเขิน อาย หรือกลัวกับการเข้าพบแพทย์ หรือถ้าใครยังลังเลใจ สามารถทำการนัดหมายแพทย์ของทางเรา Bangkok Safe Clinic ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทาง HIV แบบส่วนตัวและเป็นความลับ เพื่อรับการตรวจหรือขอคำปรึกษาได้เลยที่นี่

การป้องกันตุ่ม PPE

ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อทุกคนจะเป็นตุ่ม PPE หากทำการดูแลตนเองและรักษาอย่างถูกวิธี เช่น ใช้ยาต้านไวรัส, เข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ฯลฯ เพื่อให้จำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายไม่ลดจำนวนให้มีน้อยลงจนทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนและเกิดตุ่ม PPE ตามมา 

แต่ถ้าต้องการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ก็คงต้องป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์, ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย, ไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับคนอื่น, ทำการตรวจเลือดก่อนแต่งงานหรือวางแผนมีบุตร 

คำถามตุ่ม PPE ที่พบบ่อย

ตุ่ม PPE น่ากลัวไหม

ลักษณะของตุ่ม PPE ในเบื้องต้นไม่ได้ต่างจากตุ่มยุงกัดหรือแมลงกัดต่อย แต่เมื่อทำการเกาหรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ อาจทำให้ตุ่มดูน่ากลัวมากขึ้นจากการติดเชื้อและมีหนอง รวมถึงหลังจากที่ตุ่มยุบแล้วก็ยังทิ้งรอยแผลเป็นดำๆ เอาไว้อีกด้วย

ตุ่ม PPE หายเองได้ไหม

ตุ่ม PPE จะขึ้นมาเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง การที่จะทำให้ตุ่มหายต้องใช้เวลาในการเพิ่ม CD4 จะสูงมากขึ้น จึงจะค่อยๆ ดีขึ้น และโอกาสเกิดก็จะน้อยลงหรือไม่เกิดอีก

ตุ่ม PPE ใช้เวลารักษากี่วัน

ตุ่ม PPE ใช้เวลารักษานานด้วยการใช้ยาต้านไวรัส และไม่ใช่ว่าจะใช้ยาต้านแล้วจะหายจากการเกิดตุ่ม PPE ต้องใช้เวลาในการรักษาและเพิ่มระดับ CD4 ให้สูงมากขึ้น หากทำให้ CD4 สูงเกิน 200 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร โอกาสที่จะหายก็จะสูงขึ้น

ตุ่ม PPE ผู้ชายผู้หญิงเหมือนกันไหม

ตุ่ม PPE ในผู้ชายและผู้หญิงมีลักษณะเหมือนๆ กัน เพราะตุ่ม PPE จะขึ้นอยู่กับระดับ CD4 ว่ามีต่ำลงไปหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ใช่ ก็จะทำให้เกิดตุ่ม PPE ที่ทั้งคัน และยุบช้าลงไปอีก

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า