Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ทำความรู้จักกับโรคติดต่อทางผิวหนัง “หูดข้าวสุก” เป็นแล้วควรทำอย่างไร

หูดข้าวสุก

สำหรับใครที่มีจุดแดงซึ่งพัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นตุ่มคล้ายสิว แต่ไม่อักเสบ อาจเริ่มสงสัยตัวเองแล้วว่าจะเป็น ‘หูดข้าวสุก’ หรือไม่ หรือจะเป็นเพียงอาการของรูขุมขนอักเสบ เป็นติ่งเนื้อที่ขึ้นใหม่ หรืออาจเป็นหูดหงอนไก่ ซึ่งในความคล้ายกันเหล่านี้มีทั้งความผิดปกติทางผิวหนังที่เป็นโรคติดต่อและไม่ใช่โรคติดต่อ ทำให้หลายคนไม่แน่ใจถึงความอันตรายของมันที่กำลังจะตามมาด้วยจึงต้องการจะเช็กให้แน่ใจ และทำความรู้จักกับหูดข้าวสุกให้มากขึ้น

สำหรับอาการหูดข้าวสุกซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนและบริเวณผิวหนังส่วนหนึ่งสู่อีกส่วนหนึ่งได้โดยการสัมผัสนี้ มีอันตรายหรือไม่ เป็นแล้วควรทำอย่างไรบ้าง มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้อีกบ้าง เราได้รวบรวมเอาไว้แล้ว จะมีเรื่องอะไรที่คุณต้องรู้บ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลย


หูดข้าวสุก คืออะไร

หูดข้าวสุก คือ โรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย สามารถติดต่อได้ผ่านทางการสัมผัส การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสของหูดข้าวสุกอยู่แล้ว หรือการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มักติดต่อในสถานที่ที่ค่อนข้างชื้น อย่างเช่น ในสถานที่ออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ เป็นต้น ยิ่งในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นเชื้อไวรัสชนิดนี้จะยิ่งเติบโตได้ดี จึงมีโอกาสจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้


สาเหตุหูดข้าวสุก

สาเหตุหูดข้าวสุก

สาเหตุของหูดข้าวสุกมาจากไวรัสที่ชื่อว่าเชื้อไวรัสมอลลัสคุม คอนทาจิโอซุม (Molluscum Contagiosum Virus) ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่ม poxviridae ที่มักมีการติดเชื้อเพียงผิวหนังชั้นนอก โดยมีการแพร่เชื้อทางการสัมผัสรอยโรค ใช้สิ่งของที่มีการสัมผัสกับรอยโรคและการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่มักพบหูดข้าวสุกในกลุ่มเด็กเพราะระบบภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่และกิจกรรมหลายอย่างที่มักใช้ของร่วมกัน เช่น การใช้สระว่ายน้ำร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสหูดข้าวสุก ฯลฯ บวกกับร่างกายของผู้รับเชื้อมีบาดแผลหรือภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงก็จะทำให้สามารถรับเชื้อเข้ามาในร่างกายได้ง่าย


หูดข้าวสุกอันตรายไหม

แม้ว่าหูดข้าวสุกจะสามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสรอยโรคและการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งนับว่าติดเชื้อได้ค่อนข้างง่ายแต่กลับไม่อันตรายมากนัก เพราะการติดเชื้อจะอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกเป็นหลัก ไม่มีการเข้าสู่กระแสเลือดจึงไม่มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยหรือมีไข้ใดๆ และหูดข้าวสุกสามารถรักษาหรือป้องกันการเกิดซ้ำได้ 

ดังนั้น การเป็นหูดข้าวสุกแล้วไม่ไปเกาหรือแกะด้วยตนเองจนอาจเกิดการแพร่เชื้อไปยังบริเวณอื่นหรือเป็นหนอง ติดเชื้อ หูดข้าวสุกก็นับว่า ไม่ใช่โรคที่เป็นอันตราย เพียงแต่เมื่อหายแล้วสีผิวบริเวณที่เป็นอาจผิดปกติหรือเป็นแผลเป็นไปบ้างเท่านั้นเอง


ลักษณะของหูดข้าวสุก

ลักษณะของหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุกจะมีลักษณะเป็นตุ่มทรงโดมขนาดเล็กที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง อาจมีสีเดียวกับผิวหรือมีสีขาว ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มักไม่มีอาการคันหรือการเจ็บบริเวณตุ่ม แต่ถ้าหากเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีโรคประจำตัว รอยโรคหูดข้าวสารอาจมีขนาดใหญ่ได้ถึง 15 มิลลิเมตรเลยทีเดียว 

นอกจากนี้ บริเวณของหูดข้าวสุกที่พบในเด็กยังแตกต่างจากการพบในผู้ใหญ่อยู่บ้าง เพราะในเด็กมักพบอยู่ได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า ลำตัว ข้อพับ หรืออวัยวะเพศ แต่ในผู้ใหญ่มักพบที่บริเวณอวัยวะเพศเนื่องจากหูดข้าวสุกเป็นหนึ่งในโรคที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง


อาการหูดข้าวสุก

การติดเชื้อของหูดข้าวสุกจะเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น ทำให้สามารถสังเกตได้จากบริเวณผิวหนังเมื่อมีจุดสีแดง จากนั้นจะพัฒนามาเป็นตุ่มเล็กสีแดง ก่อนจะค่อยๆ มองเห็นว่า ในตุ่มมีสารสีขาวอยู่ภายในคล้ายสิวที่ไม่มีการอักเสบ เมื่อบีบออกจะมีสารสีขาวข้นออกมา จึงเรียกว่า หูดข้าวสุก โดยบางครั้งอาจมองเห็นว่ามีจุดบุ๋มอยู่ตรงกลางด้วยเช่นกัน และสามารถขึ้นเพียงตุ่มเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้

นอกจากนี้หูดข้าวสุกมีระยะเวลาการฟักตัวหลังร่างกายได้รับเชื้ออยู่ที่ 2-7 สัปดาห์ไปจนถึง 6 เดือนจึงทำให้ผู้ติดเชื้อบางคนอาจพบอาการหลังจากการติดเชื้อไปแล้ว 6 เดือนได้เช่นกัน


หูดข้าวสุกรักษาที่ไหน

หากพบว่าเป็นหูดข้าวสุกหรือสงสัยว่าเป็นหูดข้าวสุกสามารถเข้าทำการรักษาที่คลินิกโรคผิวหนังหรือโรงพยาบาลในแผนกโรคผิวหนังได้เลย แม้ว่าหูดข้าวสุกจะสามารถหายเองได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือนแต่เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อควรทำการรักษาให้เร็วที่สุดจะดีกว่า


การวินิจฉัยหูดข้าวสุก

การวินิจฉัยหูดข้าวสุก

การวินิจฉัยโรคหูดข้าวสุกจะเริ่มจากการซักประวัติเพื่อตรวจสอบลักษณะของโรคและประเมินโอกาสการติดเชื้อ พร้อมกับตรวจร่างกายและตรวจภายใน จะมีการขูดผิวหนังในบริเวณรอยโรคหรือตกขาวไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์และทำการตรวจสอบให้แน่ชัด หากมีการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ แพทย์อาจมีการตรวจ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย เช่น โรคเริม เป็นต้น


วิธีรักษาหูดข้าวสุก

แม้ว่าหูดข้าวสุกจะสามารถหายเองได้ใน 6-9 เดือน แต่แนะนำให้เข้ารับการรักษาจะดีกว่า เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ โดยการรักษาจะสามารถทำได้โดยการขูดหูดออกแล้วทายาต่อ ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับเด็ก ส่วนสำหรับผู้ใหญ่สามารถขูดหูดออก โดยใช้การจี้เพื่อทำให้เย็นจัดด้วยไนโตรเจนเหลว การแต้มน้ำกรดที่ตุ่มหรือการจี้ด้วยไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดรอยโรค สำหรับบางคนอาจมีการทานยาร่วมด้วย โดยบางคนอาจใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง และในบางคนอาจใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

แต่ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำการขูดออกด้วยตนเองเพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณเกิดการติดเชื้อหรือทำให้หูดข้าวสุกแพร่เชื้อไปยังบริเวณอื่นได้


อาการแทรกซ้อนของหูดข้าวสุก

อาการแทรกซ้อนของหูดข้าวสุก

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า สำหรับการเกิดอาการแทรกซ้อนของหูดข้าวสุกสามารถเกิดขึ้นได้ หากมีการแกะหรือขูดรอยโรคด้วยตนเองซึ่งอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้ง่าย 

นอกจากนี้ หากผู้ติดเชื้อมีอาการของโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดผื่นแดงและมีอาการคันร่วมด้วยได้ หรือหากตุ่มหูดข้าวสุกขึ้นรอยโรคบริเวณเปลือกตา อาจส่งผลให้เกิดเยื่อตาอักเสบร่วมด้วยได้จึงควรป้องกันโดยหลังจากมีการสัมผัสรอยโรคแล้ว ควรล้างมือให้สะอาด พร้อมทั้งปิดรอยโรคหรือตุ่มให้อยู่ในร่มผ้าหรือปลาสเตอร์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่บริเวณอื่นหรือผู้อื่นต่อไปได้ด้วย


การป้องกันโรคหูดข้าวสุก

สำหรับการป้องกันโรคหูดข้าวสุก ควรหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสหูดข้าวสุกด้วยการดูแลร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และระมัดระวังในการสัมผัส หรือใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อหูดข้าวสุก และที่สำคัญคือการหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือเมื่อจับสิ่งของส่วนรวม เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันโรคที่ไม่ใช่เพียงเชื้อหูดข้าวสุกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ ด้วย

สำหรับผู้ที่มีเชื้อหูดข้าวสุกแล้วก็ควรมีการระมัดระวังขณะเกิดรอยโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับผู้อื่น โดยอาจติดปลาสเตอร์หรือปิดคลุมด้วยเสื้อผ้า รวมถึงการสัมผัสหรือใช้สิ่งของส่วนรวม เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศหรือต้นขาอ่อนด้านใน สะโพก หรือบริเวณอื่นๆ ที่อาจเกิดการสัมผัสได้นั้นควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าหูดข้าวสุกจะหายหรือมีการรักษาแล้ว

ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคติดต่อแล้ว แม้ว่าหูดข้าวสุกจะไม่มีอันตรายร้ายแรงมากนัก แต่ก็ควรทำการป้องกันไว้ก่อนทั้งสำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้วและผู้ที่ยังไม่ได้รับเชื้อ โดยสิ่งสำคัญสำหรับการป้องกันเชื้อคือการรักษาความสะอาดและดูแลร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่เสมอนั่นเอง นอกจากนี้ ผู้ที่มีข้อสงสัยยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัดว่าตนเป็นหูดข้าวสุกหรือไม่ สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์โรคผิวหนังได้เลย เพื่อความสบายใจทั้งสำหรับตนเองและคนรอบตัว

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า